วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552


กิจกรรม รปศ. สัญจร




















วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเช่าซื้อ

สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าจะต้องใช้เงินเป็นงวดๆ (ปพพ. มาตรา 572)

สัญญาเช่าซื้อ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า
2. ผู้ให้เช่านำทรัพย์สินของตนให้ผู้เช่าไปใช้ประโยชน์
3. ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่าหรือให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่า
4. ผู้เช่าจะต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อเป็นคราว ๆ (งวด) จนครบถ้วนตามที่ตกลงกัน ให้แก่ผู้ให้เช่า

แบบของสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อ ลงลายมือชื่อในสัญญาหากมิได้ทำเป็นหนังสือ หรือคู่สัญญาลงชื่อเพียงฝ่ายเดียว สัญญาจะตกเป็นโมฆะ (ปพพ. มาตรา 572)

การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านหรือที่ดิน
แม้จะได้ทำสัญญาเช่าซื้อเป็นหนังสือและผู้เช่าซื้อชำระ ค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่การได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่สมบูรณ์ จนกว่าจะได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ปพพ. มาตรา 1299)

เช่าซื้อต่างกับซื้อขายเงินผ่อน
เช่าซื้อ คือ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังอยู่กับเจ้าของรถ(ผู้ให้เช่าซื้อ) จนกว่าผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ในระหว่างยังชำระ ค่าเช่าซื้อไม่ครบ ผู้เช่าซื้อเป็นเพียงผู้มีสิทธิครอบครอง ทรัพย์สินเท่านั้นไม่ใช่เจ้าของ หากผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินที่เช่า- ซื้อไปขายหรือจำนำจะมีความผิดทางอาญา
สัญญาซื้อขายเงินผ่อน คือ ซื้อขายเงินผ่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันที ฉะนั้น ผู้ซื้อเป็นเจ้าของทรัพย์สินในทันที แต่มีข้อตกลงเรื่องการชำระราคา ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระเป็นงวดๆ ได้

ผู้เช่าซื้อมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อกลับคืนให้แก่เจ้าของ(ผู้ให้เช่า) โดยเสียค่าใช้จ่าย (ปพพ. มาตรา 573)

เจ้าของทรัพย์(ผู้ให้เช่าซื้อ) มีสิทธิและหน้าที่อย่างไร
เจ้าของทรัพย์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ (ปพพ. มาตรา 574)
ข้อยกเว้น แต่ถ้าสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่าในกรณีที่ผู้เช่าผิดนัด ไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวก็ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อ ผิดสัญญาเช่าซื้อให้เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงเช่นนี้มีผลผูกพันคู่สัญญาได้

เมื่อบอกเลิกสัญญา เจ้าของทรัพย์(ผู้ให้เช่าซื้อ) มีสิทธิ (ปพพ.มาตรา 574)
1. ริบเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้มาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญา และ
2. เจ้าของทรัพย์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้น

เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเพราะผิดนัดในงวดสุดท้าย เจ้าของทรัพย์ (ผู้ให้เช่าซื้อ) มีสิทธิ(ปพพ. มาตรา 574)
1. ริบเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้มาแล้วทั้งหมด และ
2. กลับเข้ามาครอบครองทรัพย์เมื่อระยะเวลาใช้เงินได้ พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่งแล้ว

เจ้าของทรัพย์ (ผู้ให้เช่าซื้อ) มีหน้าที่อย่างไร
มีหน้าที่ต้องไปเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน ให้แก่ผู้เช่าซื้อ ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.lp-ju.ago.go.th